Hardware
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ
คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ
ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
(Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกันฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน
Case ได้แก่
1.1 Power Supply
ตัวเพาเวอร์ซัพพลาย มี 2
เรื่องที่สำคัญก็คือ ประเภท และ ขนาด
1.ประเภทในที่นี้ หมายถึง
แรงดันไฟฟ้าที่เพาเวอร์ซัพพลายนั้นจ่ายออกมาและขั้วต่อสำหรับเสียบเข้ากับเมนบอร์ด
ซึ่งจะต้องเลือกให้ตรงกับ เมนบอร์ดที่ใช้ด้วย ก็คือจะต้องเลือกว่าเป็นแบบ AT หรือ ATX
2. ขนาดใหญ่หรือเล็ก
(แม้ว่าจะแปรผันกันก็ตาม) หมายถึง กำลังไฟฟ้าสูงสุดที่สามารถจ่ายได้
ซึ่งโดยปกติแล้วจะหมายถึงกำลังไฟฟ้ารวมทั้งหมดทุกแรงดันไฟฟ้าที่เพาเวอร์ซัพพลายนั้นสามารถจ่ายออกมาตัวจะมีอยู่
3 ขนาดถือขนาดเล็ก 200 วัตต์ , กลางซึ่งมีมากที่สุด 250 วัตต์
และใหญ่ 300วัตต์
หน้าที่และการทำงานของเพาเวอร์ซัพพลาย
กระแสไฟที่ใช้อยู่ตามบ้านมาจากโรงไฟฟ้าโดยอยู่ในรูปแบบของไฟสลับแรงดันสูง
220 โวลต์ในบ้าน แต่กระแสไฟที่อุปกรณ์ทุกชนิดที่คอมพิวเตอร์ใช้
(และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ทุกชนิด) จะต้องเป็นไฟตรงแรงดังต่ำ หน้าที่ของเพาเวอร์ซัพพลายก็คือจะต้องแปลงไฟสลับแรงดันสูง
ให้เป็นไฟตรงแรงดันต่ำที่อุปกรณ์ต่าง ๆ
ต้องการรวมทั้งจะต้องมีไฟพิเศษและสัญญาณต่าง ๆ
1.2 Mainboard และ
ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่
1.2.1 CPU

1.2.2 RAM

1.2.3 Expansion Slots

1.2.4 Ports

1.3 Hard Disk

1.4 Floppy Disk Drive


1.5 CD-ROM Drive
1.6 DVD-ROM Drive
1.7 Sound Card
1.8 Network Card
ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญ ได้แก่
2.1 Keyboard

2.2 Monitor

2.3 Mouse

2.4 Printer


2.5 Scanner

2.6 Digital Camera

2.7 Modem

2.8 UPS

เคส (Case)
ปัจจุบัน Case มี 2 แบบ คือ แบบนอน (เรียกว่า Desktop ) และ แบบตั้ง (Tower)
Case แบบนอน สามารถนำจอภาพมาตั้งไว้ข้างบนได้
เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อที่จำกัดที่จะวางเครื่องคอมพิวเตอร์
แต่มีข้อเสียที่ภายในมีเนื้อที่จำกัด
อาจเป็นอุปสรรค์เมื่อต้องการเพิ่มฮาร์ดแวร์ภายหลัง อย่างไรก็ตาม Case แบบนอนบางยี่ห้ออาจออกแบบมาดีจนเรื่องนี้ไม่ใช่อุปสรรคก็ได้
Case แบบตั้ง เปลืองเนื้อที่กว่า เพราะไม่สามารถวางจอภาพไว้ข้างบนได้
แต่มีข้อได้เปรียบ Case
แบบนอน คือเนื้อที่ข้างในมากกว่า จึงเพิ่มฮาร์ดแวร์ได้มากชิ้นกว่า
แต่อย่างที่กล่าวแล้วข้างบน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการออกแบบ Case แบบตั้งหากออกแบบไม่ดี
อาจมีเนื้อที่เหลือให้เพิ่มฮาร์ดแวร์น้อยกว่าแบบนอนก็ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.pattani1.go.th/wbi/page1/na46.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น